Article

การซ่อมแซมรูรั่วท่อ PP-R

                เมื่อท่อ PP-R เกิดรูรั่วขึ้น เนื่องจากสาเหตต่าง ๆ เช่น การเจาะผนัง การตอกตะปู หรือการกระทบกระเทือนต่าง ๆ แล้วทำให้ท่อ PP-R เสียหาย เกิดรอยรั่ว สามารถซ่อมแซมได้โดยใช้แท่งซ่อม ซึ่งมี 2 ขนาดในแท่งเดียวกัน คือ 7 มิลลิเมตร และ 11 มิลลิเมตร ตามขนาดของรูรั่ว

1. ใช้สว่านเจาะที่รูรั่ว โดยใช้ขนาดดอกสว่านตามขนาดของแท่งซ่อมดังตาราง เพื่อขยายรูรั่วให้เหมาะสมกับแท่งซ่อม

ด้านแท่งซ่อม

ขนาดดอกสว่าน

7 มม.

5 มม.

11 มม.

9 มม.

 

2. กำหนดความลึกของแท่งซ่อมและหัวเชื่อมตามตาราง เพื่อไม่ให้แท่งซ่อมเชื่อมลึกเกินไปจนขวางการไหลของน้ำในท่อ

ขนาดท่อ

มม. (นิ้ว)

ความลึกของแท่งซ่อมและหัวเชื่อมแท่งซ่อม = ความหนาท่อ (มม.)

เวลาที่ให้ความร้อนแก่ท่อก่อนแท่งซ่อม (วินาที)

เวลาที่ให้ความร้อนแก่ท่อ และแท่งซ่อมพร้อมกัน (วินาที)

เวลาในการปล่อยให้เย็นตัวก่อนเริ่มใช้น้ำ (นาที)

PN 10

PN 20

18 (1/2”)

2.3

3.4

0

5

2

20 (3/4”)

2.3

4.2

2

5

2

25 (1”)

2.9

5.4

3

5

4

35 (1 1/4”)

3.7

6.7

7

5

4

40 (1 1/2”)

4.6

8.3

13

5

4

55 (2”)

5.8

10.5

19

5

6

65 (2 1/2”)

6.8

12.5

25

5

6

80 (3”)

8.2

15.0

35

5

8

100 (4”)

10.0

18.3

45

5

8

125 (5”)

11.4

20.8

55

5

10

150 (6”)

14.6

26.6

65

5

10

 

3. นำเครื่องเชื่อมที่ติดตั้งหัวเชื่อมแท่งซ่อมเรียบร้อยแล้ว มาให้ความร้อนที่ท่อ ตามตาราง จากนั้นจึงให้ความแก่ท่อและแท่งซ่อมพร้อมกัน ตามเวลาที่กำหนดในตารางข้างต้น

4. เมื่อครบเวลาที่กำหนดแล้ว นำแท่งซ่อมมาอุดที่รู จับแท่งซ่อมไว้สักครู่เพื่อให้แท่งซ่อมและท่อเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกัน

5. ตัดปลายแท่งซ่อมให้เรียบเสมอผิวท่อ ทิ้งให้เย็นตัวตามเวลาก่อนเริ่มปล่อยน้ำเข้าท่อ