Article

วิธีต่อท่อและอุปกรณ์ PP-R แบบเชื่อมสอด ยี่ห้อ THAI PP-R

ในการติดตั้งท่อ PP-R ยี่ห้อ ไทย พีพี-อาร์ จะใช้วิธีเชื่อมสอด หรือที่เรียกว่า Socket Fusion ซึ่งหัวใจของการติดตั้งด้วยวิธีนี้ คือการใช้ความร้อน 250 - 260 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ทำให้ท่อและข้อต่อ PP-R เกิดการหลอมเหลว และสามารถประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ ทำให้ไม่เกิดการรั่วซึ่ม

การติดตั้งด้วยวิธีนี้ไม่ต้องใช้กาว หรือน้ำยาประสานใด ๆ ทำให้ระบบการติดตั้งท่อ PP-R สะอาด และปลอดภัยมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ทำการซ่อมแซมระบบท่อภายในอาคาร จะไม่เกิดประกายไฟ ควัน หรือกลิ่นจากสารเคมีรบกวนระหว่างการทำงาน และสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเย็นตัว

ขั้นตอนการติดตั้งท่อและอุปกรณ์ PP-R ยี่ห้อ THAI PP-R

1. การตัดท่อ  ใช้กรรไกรตัดท่อตัดในตำแหน่งที่ต้องการให้ตั้งฉาก หากเป็นท่อขนาดใหญ่ สามารถใช้เลื่อยที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนสูงตัดได้ และทำการแต่งปลายท่อให้เรียบร้อย

2. การวัดระยะความลึกของท่อในการเชื่อม ท่อแต่ละขนาดจะมีความลึกในการเชื่อมไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องใช้แผ่นวัดระยะซึ่งระบุขนาดท่อ ทาบลงบนท่อแล้วใช้ดินสอทำเครื่องหมาย หรือดูระยะความลึกของท่อตามตารางการให้ความร้อน

ขนาดท่อ

ความลึกของท่อในการเชื่อม

เวลาในการให้ความร้อน

ช่วงเวลาในการเชื่อมท่อและข้อต่อ

เวลาในการปล่อยให้เย็นตัวก่อนเริ่มใช้น้ำ

มม.

นิ้ว

มม.

วินาที

วินาที

นาที

20

1/2"

14.0

5

ท่อประเภท SDR 11 PN 10 ขนาด 20 mm ใช้เวลาในการหลอมละลายเพียง 3 วินาที

4

2

25

3/4"

15.0

7

ท่อประเภท SDR 11 PN 10 ขนาด 25 mm ใช้เวลาในการหลอมละลายเพียง 3 วินาที

4

2

32

1”

16.5

8

6

4

40

1 1/4"

18.0

12

6

4

50

1 1/2"

20.0

18

6

4

63

2”

24.0

24

8

6

75

2 1/2"

26.0

30

8

8

90

3”

29.0

40

8

8

110

4”

32.5

50

10

8

 

3. การหลอมท่อและข้อต่อ  ต้องทำความสะอาดท่อ ข้อต่อ และหัวเชื่อมไม่ให้มีฝุ่น หรือสิ่งสกปรกเกาะติดอยู่ จากนั้นจึงนำท่อและข้อต่อสอดในหัวเชื่อมพร้อม ๆ กัน โดยข้อต่อให้ดันจนสุด ส่วนท่อให้ดันจนถึงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นให้ความร้อนตามเวลาที่กำหนดของท่อแต่ละขนาด ตามที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด

4. การต่อเชื่อมท่อและข้อต่อ  เมื่อให้ความร้อนจนครบตามเวลาที่กำหนดแล้ว ดึงท่อ และข้อต่อออกพร้อมกัน จากนั้นจึงสวมเข้าด้วยกัน โดยสามารถจัดแต่งให้ตรงได้ แต่ห้ามบิดหมุนไปมา เพราะอาจเป็นสาเหตให้รอยเชื่อมแยกออกจากกันทำให้เกิดการรั่วได้ จับท่อและข้อต่อไว้ระยะหนึ่งจนเชื่อมสนิท และปล่อยมือ ทิ้งให้เย็นลงตามเวลาที่กำหนด จึงทำการทดสอบแรงดันน้ำ

ข้อควรระวัง

1. หากมีการตัดท่อจนเกิดรอยมากแล้ว จะต้องตัดท่อในจุดนั้นให้เสร็จสิ้น ห้ามเปลี่ยนตำแหน่งการตัดใหม่ เพราะอาจเกิดปัญหาท่อน้ำแตกรั่ว จากรอยบากที่เกิดขึ้น

2. ต้องเปลี่ยนหัวเชื่อมใหม่ เมื่อเกิดการหลุดลอกของเทฟลอน (Teflon) เพราะจะทำให้พลาสติกติดกับหัวเชื่อม และไหม้ได้ เป็นสาเหตุในการเชื่อมไม่สมบูรณ์ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการรั่วซึมตามมาได้

3. ห้ามดันท่อเข้าไปในหัวเชื่อม เกินกว่าตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ เพราะจะทำให้ปลายท่อตีบ หรือตันได้

เพื่อป้องกันปัญหาในการติดตั้ง ท่อไทย พีพี-อาร์ ได้ระบุระยะเวลาในการให้ความร้อน ไว้บนท่อทุกเส้น โดยเวลาในการเชื่อมบนเส้นท่อ ได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสิทธิบัตร