ท่อ PVC เป็นท่อที่ผลิตจากพลาสติกโพลีไวนิล คลอไรด์ (Polyvinyl Chloride : PVC) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พีวีซีแข็ง (Rigid PVC) หรือเรียกว่า UPVC (Unplasticized PVC) หรือ uPVC หรือ PVC-U มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อแรงดันและแรงกด ทนต่อสภาวะอากาศความชื้น ทนต่อสภาพความเป็นกรดด่าง ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม ไม่รั่ว ไม่เปราะ เป็นฉนวนไฟฟ้า น้ำหนักเบา ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายนี้จึงนิยมนำเม็ดพลาสติก PVC มาผลิตเป็นท่อ PVC แข็ง ซึ่งได้รับความนิยมสูงในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้เป็นท่อประปา ท่อส่งน้ำดื่ม ท่อระบายน้ำทิ้งและน้ำเสีย เพื่อทดแทนท่อเหล็กอาบสังกะสีสำหรับงานท่อประปาที่มีข้อเสียที่สำคัญคือเป็นสนิมได้ง่าย และทดแทนท่อเหล็กหล่อสำหรับงานท่อน้ำทิ้งและน้ำเสีย ท่อโสโครก ท่อส้วมที่มีข้อเสียที่สำคัญคือติดตั้งไม่สะดวก
เทคนิคการเลือกท่อ PVC ให้เหมาะกับการใช้งาน
1. เลือกประเภทท่อให้เหมาะสม
ท่อ PVC แบ่งเป็น 4 ประเภทตามสีสำหรับการใช้งาน คือ
- PVC216-2524
- ท่อ PVC สีเทา ผลิตตามมาตรฐาน มอก.999-2533 ใช้เป็นท่องานอุตสาหกรรม งานชลประทาน งานระบายน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูล ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้ และท่อสีเทาที่ใช้สำหรับงานเกษตรกรรม หรือใช้เป็นท่อเกษตร ในปัจจุบันไม่มีมาตรฐาน มอก.กำหนด จะผลิตตามมาตรฐานของแต่ละบริษัทผู้ผลิต
- ท่อ PVC สีขาว ผลิตตามมาตรฐาน JIS และมาตรฐาน BS ไม่มีผลิตมาตรฐาน มอก.ไทย ใช้เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์
2. เลือกชั้นคุณภาพให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ชั้นคุณภาพ จะเป็นตัวกำหนดความหนาของท่อ โดยตัวเลขที่ระบุไว้จะเป็นแรงดันน้ำสูงสุดที่ท่อสามารถรับได้มีหน่วยเป็น บาร์ ปัจจุบัน มาตรฐาน มอก. 17-2532 ได้แบ่งชั้นคุณภาพออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ
- ชั้น 5 (Class 5) เหมาะสำหรับงานระบบประปา ระบายน้ำ และระบายอากาศ ของบ้านและอาคารทั่วไป
- ชั้น 8.5 (Class 8.5) เหมาะกับบ้านหลังใหญ่ และอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไป
- ชั้น 13.5 (Class 13.5) เหมาะกับงานระบบประปาของอาคารขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม สระว่ายน้ำ และอาคารที่มีความสูง 8 ชั้นขึ้นไป มีความทนทาน รับแรงดันน้ำได้สูงสุด
การเลือกใช้ชั้นคุณภาพที่เหมาะสม ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับความหนาของท่อที่ไม่จำเป็น และช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น ท่อแตกหรือรั่วซึมจากการรับแรงดันที่สูงเกินไป
3. เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งาน
การเลือกขนาดของท่อ PVC ให้เหมาะสมกับการใช้งานถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากหากใช้ท่อไม่ถูกขนาด อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น หากใช้ขนาดใหญ่เกินไป อาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำ หรือหากใช้ขนาดที่เล็กเกินไป อาจทำให้ท่อแตก เนื่องจากไม่สามารถทนแรงดันน้ำได้